วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

จุดเที่ยวใกล้หนองหาร

 
  ทะเลสาบหนองหาร



                    


อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ


         
ความเป็นมาของอุทยาน    

     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนจากกรมประมงให้ใช้พื้นที่หนองหารน้อย ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ เพื่อจัดทำโครงการอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอม 5 ธันวาคม 2542 ขึ้น โดยจะพัฒนาพื้นที่หนองหารน้อยนี้เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยด้านสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำและด้านพรรณไม้น้ำ ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรม เผยแพร่ผลงานพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืนและเป็นศูนย์ด้านวิชาการเพื่อการผลิตอาหารประจำท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสอดคลองกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะจัดให้มีโครงการพัฒนาศูนย์ผลิตอาหารประจำท้องถิ่นและเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตร โดยเป็นแหล่งฝึกอบรมและเผยแพร่ด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตรและการตลาดที่เหมาะสมในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน โดยเป็นแหล่งฝึกอบรมและเผยแพร่ด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินการเกษตร และการตลาดที่เหมาะสมในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน โดยที่มีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว แล้วจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทำให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งจะเป็นผลให้รายได้ของประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วย
วิวหนองหาน
สวนบัวของอุทยาน




สะพานลงไปชมสวนบัว

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ทะเลสาบหนองหาร


                                                                       


  
 ทะเลสาบหนองหาร


        ประวัติหนองหาร
           ตามความเชื่อที่ว่าแต่เดิมขอมปกครองเมืองนี้มาก่อน ยังปรกกฏในตำนานนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาจนทุกวันนี้คือตำนานฟานด่อนหรือเก้งเผือกและนิทานเรื่องกะฮอกด่อน หรือกระรอกเผือก ตำนานฟานด่อนเป็นตำนานที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออุรังคนิทาน เป็นเรื่องธิบายสาเหตุที่เมืองเก่าซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณท่านางอาบบ้านท่าศาลา   บ้านน้ำพุ ริมหนองหารถล่มล่มลงในหนองหารและแล้วมีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บริเวณธาตุเชิงชุมอีกฝั่งหนึ่งของหนองหาร     โดยพระยาสุวรรณภิงคารโอรสพญาขอมตำนานเรื่องนี้   ยังมีความสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านอีกหลายแห่งริมหนองหารจึงทำให้ผู้คนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงจนถือกันว่า เมื่ออยู่ในหนองหารไม่ควรพูดถึงเรื่องนี้จะได้รับอันตราย เรือจะล่ม ถูกเงือกทำร้าย หรือหาปลาไม่ได้ผล
           ในส่วนนิทานกะฮอกด่อนแม้ว่าจะเป็นการอธิบายการเกิดหนองน้ำขนาดใหญ่ทั่วไปก็ตาม แต่ชาวสกลนคร
ก็เชื่อว่านิทานเรื่องนี้เป็นที่มาของการถล่มทลายหนองหาร ซึ่งเกิดการกระทำของพญานาค
           อย่างไรก็ตามเมืองหนองหารในปัจจุบันกลายเป็นแหล่งที่อู่อาศัยของสัตว์หลายๆชนิด      และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนครที่ใครได้มาเที่ยวชมแล้วก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่หน้าอัศจรรย์ยิ่งนักโดยมีตำนานของ ผาแดงและนางไอเป็นนิทานให้ผู้ที่มาเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้ได้อีกด้วย

               หนองหาร     
 ที่ตั้งและอาณาเขต หนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 107 องศา 6 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 104 องศา 8 ลิปดาตะวันออกถึง 104 องศา 18 ลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 158 เมตร ความกว้างประมาณ 17 กิโลเมตร ยาว 18 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งสิ้น 123 ตารางกิโลเมตร            ครอบคลุมเขตการปกครองเทศบาลเมือง
สกลนคร กับอีก 10 ตำบล ของอำเภอเมืองสกลนครและอำเภอโพนนาแก้ว ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ตำบลธาตุนาเวง ตำบลเชียงเครือ ตำบลท่าแร่ ตำบลนาแก้ว ตำบลบ้านแป้น ตำบลนาตวัฒนา ตำบลม่วงลายตำบลเหล่าปอแดง และตำบลงิ้วด่อน


ที่พักที่ใกล้กับริมหนองหาร
หลักฐานทางโบราณคดีบริเวณหนองหาร  จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคอีสานตอนบน ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งสกลนครโดยมีแนวเทือกเขาภูพานเป็นแนวยาวทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ มีพื้นที่ราบอยู่ทางทิศตะวันออกลาดเอียงเข้าสู่ชายฝั่งแม่น้ำโขง สกลนครจึงนับว่าเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ต่อเนื่องมานับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ภาพสลักผาหินที่ถ้ำผายนต์ หรือ ถ้ำผาลาย ถ้ำพระด่านแร้ง และภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผักหวาน นอกจากนี้ยังปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับภาชนะเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ตลอดจนเครื่องสำริด และเครื่องโลหะ ซึ่งจากหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในจังหวัดสกลนครนี้เชื่อว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกันกับวัฒนธรรมบ้านเชียง และนอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำนวนมากตั้งแต่สมัยทวารวดีโดยมีการพบใบเสมาหิน พระพุทธรูปสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไปซึ่งอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะจากขอมเช่นปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบ้านพินนา ศิลาจารึกอักษรขอมที่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารจากประวัติและหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดสกลนครดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในบริเวณพื้นที่นี้มีการทิ้งร้างไม่อยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่19เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ชุมชนนี้จึงได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาและมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอีกครั้งหนึ่ง
แผนที่ไปที่พักและหนองหาร